1.
คุณเกษร สุคนธมาน บริจาคเงิน 2,500,000
บาท
2.
คุณอุดม
อุ่นสุวรรณ บริจาคเงิน 2,250,000
บาท
3.
มูลนิธิ กิสน เกษร สุคนธมาน บริจาคเงิน 300,000 บาท
4.
มูลนิธิ อุดม - สอางค์ อุ่นสุวรรณ บริจาคเงิน 120,000 บาท
5.
คุณประกอบ
เพ็ชร์รัตน์ บริจาคที่ดิน 2 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา
6.
คุณพิพัฒน์ สุคนธมาน บริจาคที่ดิน 2 ไร่ 2 งาน 4 ตารางวา
7.
คุณสิน
ภุมรา บริจาคที่ดิน 1 ไร่ 2 งาน 68 ตารางวา
8.
คุณลำใย เตียบน้อย บริจาคที่ดิน 1 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา
9.
คุณพรวน
เขียนประเสริฐ บริจาคที่ดิน 1 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา
10.
คุณนิพันธ์
พูลทวีธรรม บริจาคที่ดิน
2 งาน 93 ตารางวา
11. คุณทองแพ ธรรมสังวาล บริจาคที่ดิน
2 งาน 11 ตารางวา
และประชาชนร่วมบริจาคเงิน
และสิ่งของสมทบอีก 1,322,298 บาท
จากการที่ได้มีประชาชนร่วมกันบริจาคเงิน และสิ่งของเป็นจำวนมาก
คณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลและประชาชนทั่วไป ต่างมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า
จังหวัดสมุทรสงคราม
เป็นที่ประสูติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 อำเภอต่าง
ๆ ในจังหวัดสมุทรสงคราม
ต่างก็มีอนุสรณ์รำลึกถึงพระองค์ท่าน
คือ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม มี สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อำเภออัมพวา
มี พระบรมราชานุสาวรีย์ และอุทยาน ร.2 ในการนี้
อำเภอบางคนทีมีโรงพยาบาลก่อสร้างใหม่
จึงเห็นสมควรขอพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้สุดแต่พระองค์ท่านจะทรงพระกรุณา เพื่อเป็นนิมิตหมายแห่งความเป็นศิริมงคลแก่โรงพยาบาล และพี่น้องประชาชนชาวอำเภอบางคนที สืบไป
จนกระทั่งความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระราชทานชื่อโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า โรงพยาบาลนภาลัย ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0003/823,824 ลงวันที่ 21 มกราคม 2527 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
จวบจนกระทั่งถึงมหามงคลสมัย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลนภาลัย อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2528 เวลา 14.30 น. ต่อมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2532ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง และเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 จนถึงปัจจุบัน
ต่อมา โรงพยาบาลนภาลัย ได้อัญเชิญหลวงพ่อบ้านแหลม (องค์จำลอง) ซึ่งเป็นที่เคารพบุชาสูงสุดของพี่น้องประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม
จากวิหารวัดเพชรสมุทรวรวิหารอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม มาประดิษฐาน ณ
หอพระโรงพยาบาลนภาลัย
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2529 เพื่อให้พี่น้องประชาชนในเขตอำเภอบางคนที และผู้ป่วยได้สักการะบูชา
ปัจจุบัน
โรงพยาบาลนภาลัย
ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง
ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0216/21/561 ลงวันที่ 22 มกราคม 2536 ด้วยการพึ่งพาตนเอง
นับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง ที่พี่น้องประชาชนในจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนเป็นอย่างดี เพื่อให้โรงพยาบาลนภาลัยเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า
รับใช้พี่น้องประชาชน ด้านการสาธารณสุขสืบไป
โรงพยาบาลนภาลัย
ได้ดำเนินการบริหารภายในองค์กร
โดยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล แพทย์ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน และกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นประธาน
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปเป็นกรรมการและเลขานุการ มีการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 :
2000 โดยมีขอบเขตครอบคลุมทุกฝ่ายและกลุ่มงานของโรงพยาบาลนภาลัย